วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ซออู้




www.smusichome.com






ซออู้ เป็นซอสองสาย ตัวกะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว โดยตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่ง และใช้หนังลูกวัวขึงขึ้นหน้าซอ กว้างประมาณ 13 – 14 ซม เจาะกะโหลกให้ทะลุตรงกลาง เพื่อใส่คันทวนที่ทำด้วยไม้จริง ผ่านกะโหลกลงไป ออกทะลุรูตอนล่างใกล้กะโหลก คันทวนซออู้นี้ ยาวประมาณ 79 ซม ใช้สายซอสองสายผูกปลายทวนใต้กะโหลก แล้วพาดผ่านหน้าซอ ขึ้นไปผูกไว้กับ ลูกบิดสองอัน ลูกบิดซออู้นี้ยาวประมาณ 17 –18 ซม โดยเจาะรูคันทวนด้านบน แล้วสอดลูกบิดให้ทะลุผ่านคันทวนออกมา และใช้เชือกผูกรั้งกับทวนตรงกลางเป็นรัดอก เพื่อให้สายซอตึง และสำหรับเป็นที่กดสายใต้รัดอกเวลาสี ส่วนคันสีของซออู้นั้นทำด้วย ไม้จริงยาวประมาณ 70 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 160 - 200 เส้น ตรงหน้าซอใช้ผ้าม้วนกลมๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นหมอนหนุน สายให้พ้นหน้าซอ ด้านหลังของกะโหลกซอ แกะสลักเป็นรูปลวดลายสวยงาม และเป็นช่องทางให้เสียงออกด้านนี้ด้วย
ซออู้มีรูปร่างคล้ายๆกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู – ฮู้ ( Hu-hu ) เหตุที่เรียกว่าซออู้ก็เพราะ เรียกตามเสียงที่ได้ยินนั่นเอง ซอด้วงและซออู้ ได้เข้ามามีบทบาทในวงดนตรีเครื่องสายตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 4 นี่เอง โดยได้ดัดแปลงมาจาก วงกลองแขกเครื่องใหญ่ ซึ่งมีเครื่องดนตรีที่ทำลำนำประกอบด้วย ซอด้วง ซออู้ จะเข้ และ ปี่อ้อ ต่อมาได้เอากลองแขก ปี่อ้อ ออก และเอา ทับกับรำมะนา และขลุ่ยเข้ามาแทน เรียกวงดนตรีชนิดนี้ว่า วงมโหรีเครื่องสาย มีคนเล่นทั้งหมด 6 คน รวมทั้ง ฉิ่งด้วย

ฉิ่ง




ฉิ่งเป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทตี ทำด้วยทองเหลือง หล่อหนา ปากผายกลม 1 ชุด มี 2 ฝา ฉิ่งมี 2 ชนิดคือ ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์ และ ฉิ่งที่ใช้สำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรี ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์มีขนาดที่วัดฝ่านศูนย์กลาง จากขอบข้างหนึ่งไปสุดขอบอีกข้างหนึ่ง กว้างประมาณ 6 – 6.5 ซม เจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก เพื่อให้จับสะดวกขณะตี ส่วนฉิ่งสำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรีนั้น มีขนาดเล็กกว่า วัดผ่านศูนย์กลางได้ขนาดประมาณ 5.5 ซม
เนื่องจากการตีฉิ่ง ต้องเอาขอบของฝาข้างหนึ่งกระทบกับอีกฝากหนึ่ง แล้วยกขึ้น ก็จะมีเสียงดังกังวานยาวดัง ฉิ่ง แต่ถ้าเอาทั้ง 2 ฝานั้นกระทบและประกบกันไว้ จะได้ยินเสียงดังสั้นๆดัง ฉับ ดังนั้นการเรียกชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า ฉิ่ง ก็เพราะเรียกตามเสียงที่เกิดขึ้นนั่นเอง

ระนาดเอก




ระนาดเอกเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลาย ๆ อันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่าง ๆ กันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมาติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า ลูกระนาด เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า ผืน
ลูกระนาดนี้ทำด้วย ไม้ชิงชัน หรือไม้แก่น เช่น ไม้ไผ่บง ไม้มะหาด ไม้พะยุงก็ได้ โดยนำมาเหลาให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วทำรางเพื่ออุ้มเสียงเป็นรูปคล้ายลำเรือ ให้หัวและท้ายโค้งขึ้น เรียกว่า รางระนาด แผ่นไม้ที่ปิดหัวท้ายรางระนาดเราเรียกว่า โขน ระนาดเอกในปัจจุบันมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้นมีขนาด 39 ซม กว้างราว 5 ซม และหนา 1.5 ซม มีขนาดลดหลั่นลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอดที่มีขนาด 29 ซม เมื่อนำผืนระนาด มาแขวนบนรางแล้ว หากวัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งไปยังโขนหัวรางอีกข้างหนึ่ง จะมีความยาวประมาณ 120 ซม มีเท้ารองรางเป็นเท้าเดี่ยว รูปคล้ายกับพานแว่นฟ้า
ระนาดเอกใช้ในวงปี่พาทย์และวงมโหรี โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำ

ทรัมเป็ท



www.sahavicha.com

ทรัมเป็ต (trumpet) เป็นเครื่องดนตรีสากลในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง(แตร) ประเภทเสียงสูง (high brass) เช่นเดียวกับเฟรนช์ฮอร์น กำเนิดเสียงโดยอาศัยลมจากการเป่าของผู้เล่นทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของริมฝีปาก โดยทั่วไปมีปุ่มกด (valve) 3 อัน เรียงอยู่ในระนาบเดียวกัน มีทั้งที่เคลือบผิวด้วยทอง, เงิน, นิกเกิล, และแลกเกอร์

ทรัมเป็ตมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเริ่มจากแตรสัญญาณที่ใช้ในการล่าสัตว์หรือในทางทหาร แต่แตรลักษณะนั้นโดยมากจะไม่มีปุ่มกดเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง ทำให้ไม่สามารถสร้างระดับเสียงที่แตกต่างกันได้มากนัก จนกระทั่งมีการคิดประดิษฐ์ปุ่มกดและกลไกต่างๆเข้าไปภายหลังในสมัยยุคกลาง โดยเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง สามารถพบเห็นได้ในวงหลากหลายรูปแบบตั้งแต่วงพื้นบ้านของเม็กซิกัน(Mariachi) วงแจ๊ซ วงโยธวาทิต จนถึง
วงออเคสตราขนาดใหญ่ หรือแม้แต่วงดนตรีป๊อป-ร็อคสมัยใหม่

ระดับเสียงของทรัมเป็ตมีช่วงเสียงประมาณ 2-3 ออกเตฟ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น ตั้งแต่ F# ต่ำกว่า middle C จนถึง E สูงเหนือบรรทัด 5 เส้นหรือสูงกว่านั้น เสียงของทรัมเป็ตโดยธรรมชาติมีลักษณะดังกังวาน สดใส และเข้มแข็ง แต่ขณะเดียวกันก็สามารถใช้สร้างเสียงที่แสดงออกถึงอารมณ์หม่นเศร้าได้เช่นกัน ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือทรัมเป็ตในคีย์ Bb และคีย์ C อาจพบเห็นทรัมเป็ตที่มีขนาดและระดับเสียงแตกต่างกันได้อีกหลายชนิดตั้งแต่ "เบส-ทรัมเป็ต" จนถึง "พิคโคโลทรัมเป็ต" โดยเฉพาะในบทเพลงคลาสสิค
ทรัมเป็ท คือ เครื่องดนตรีที่จัดอยู่ในประเภทเครื่องลมทองเหลืองกำพวดสำหรับเป่ามีลักษณะเป็นท่อโลหะบานตรงปลาย คล้ายรูปถ้วย ท่อลมทรัมเป็ทด้านปลายท่อ บานออกเป็นลำโพง เพื่อขยายเสียงให้ดัง ทรัมเป็ทมีลูกสูบ 3ลูกสูบสำหรับเปลี่ยนความสั้นยาวของท่อลม เพื่อเปลี่ยนระดับเสียงดนตรีที่เกิดขึ้น บางครั้งกดเดียง 1 นิ้ว บางครั้ง 2 นิ้ว หรือ 3 นิ้วพร้อมกันเป่าโดยเม้มริมฝีปาก แล้วทำให้ริมฝีปากสั่นสะเทือนในกำพวด เสียงของทรัมเป็ทเป็นเสียงที่มีพังและดังเจิดจ้า ในบทเพลงต่าง ๆ มักใช้เสียงทรัมเป็ทบรรยายลักษณะของความกล้าหาญ การรบพุ่ง หรือความสง่างามในพิธีสำคัญต่าง ๆ
ทรัมเป็ทมีพัฒนาการมานาน มีรูปทรงต่าง ๆ กันออกไป เครื่องดนตรีที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการของทรัมเป็ท คือ Serpent และ Kent Bugle ในยุคกลางทรัมเป็ทจะถูกนำมาใช้ในกิจการของทหารเท่านั้น เป่าเพื่อส่งสัญญาณต่าง ๆ ในยุคต่อมาทรัมเป็ทได้นำมาใช้ในวงออร์เคสตร้า โดยเฉพาะในบรรยากาศของการแสดงเสียงอึกทึกเสียงดังหรือการประโคม
บุคคลที่ถือว่าเป็นผู้ออกแบบทรัมเป็ทที่สำคัญคือ Johann Hass(1649 – 1723) เป็นชาวเยอรมัน ทรัมเป็ทในปัจจุบันจะอยู่ในระดับเสียง บีแฟล็ต เครื่องดนตรีที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับ ทรัมเป็ทมีหลายชนิด เช่น ทรอมโบน ฮอร์น คอร์เน็ท ทูบา ยูโฟเนียม ซูซาโฟน ฟลูเกิลฮอร์น

เทคนิคการเล่นกีต้าร์

www.nartube.com





การเล่นกีต้าร์โดยทั่วไปนั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ

1. เล่นแบบดีดทีละสาย ผู่เล่นจะต้องจำจุดต่างๆ ให้ได้ว่าเป็นเสียงอะไร ในการกดลงไปตามจุดต่างๆ ของคอร์ดกีต้าร์ต้องกดให้แน่นๆนะครับ ถ้ากดไม่แน่นเสียงจะบอด (เสียงไม่กังวาล) การฝึกหัดควรฝึกหัดตามโน็ต ตาไม่ต้องดูนิ้ว ในระยะแรกอาจจะดูบ้างไม่เป็นไรครับ การดีดทีละสายนี้สามารถทำให้เสียงที่ดีดออกมาแปลกไปจากเดิมได้ เมื่อเวลาที่จะเปลี่ยนไปติดตามโน็ตอีกตัวนึง คือ "การเล่นแบบรูดนิ้ว" การเล่นแบบรูดนิ้วนั้น ผู้เล่นจะต้องกดจุดแรกให้แน่นก่อนแล้วรูดนิ้วจากจุดแรกที่กดอยู่ไปยังจุดที่เกิดเป็นเสียงตามต้องการ (รูดสายเดิม) เช่น จาก โดในสายที่ 4 รูดนิ้วไปยังฟาในสายเดียวกัน การเล่นแบบนี้ผู่เล่นจะต้องจำให้ได้ว่าสายนั้นตามช่องต่างๆ มีเสียงอะไรบ้าง การเล่นแบบรูดนิ้วทำให้เกิดความไพเราะขึ้นกว่าการเปลี่ยนจุดตามธรรมดา ถ้าต้องการให้เสียงสั่นพริ้ว เมื่อดีดแล้วต้องเขย่าตัวกีต้าร์
2. เล่นแบบดีดหลายสายพร้อมกัน วิธีนี้ คือ การดีดเป็นคอร์ดนั่นเอง การฝึกหัดดีดเป็นคอร์ดครั้งแรกควรจะดีดช้าๆ ก่อน เมื่อกดจุดต่างๆ ที่จะทำให้เกิดกลุ่มเสียงแล้วดีดไล่ลงไปทีละเส้น วิธีนี้เรียกว่า Broken Chord การเล่นแบบนี้จะทำให้ผู้เล่นรู้ว่าเสียงใดบอดบ้าง ในการเปลี่ยนคอร์ดหนึ่งไปยังอีกคอร์ดหนึ่ง นิยมเปลี่ยนโดยการเลื่อนนิ้วเพราะจะทำให้เสียงไม่ขาดหายไป แต่มีการเปลี่ยนคอร์ดบางคอร์ดต้องยกนิ้วออกจากจุดเดิมทั้งหมด เพราะคอร์ดที่ต้องการอยู่ไกลจากตำแหน่งของคอร์ดเดิมมาก

เทคนิคการเหยียบกระเดื่อง




เทคนิคการใช้เท้า Bart บอกว่าเท้าของคุณต้องติดอยู่กับกระเดื่องเสมอ ไม่ว่าคุณจะเหยียบกระเดื่องแบบยกส้นหรือแบบไม่ยกส้น โดยเทคนิดพื้นฐานทั่วไป ปลายเท้าของคุณต้องอยู่บนกระเดื่องถ้าไม่เช่นนั้นหัวกระเดื่องจะไม่อยู่นิ่ง ทำให้คุณไม่สามารถบังคับหัวกระเดื่องได้ และไม่สามารถเล่นกลองได้อย่างมีDynamic การที่เท้าไม่อยู่บนกระเดื่องตลอดเวลาอาจทำให้มีเสียงดังอื่นรบกวนได้ ซึ่งรวมถึงเท้าที่อยู่บนHi-Hat ด้วย มีมือกลองจำนวนมากตีกลองแบบยกส้นเท้า ขณะที่บางคนก็ไม่ยก( ซึ่งเหยียบได้เร็วมาก) ทั้งสองแบบนั้นดีทั้งคู่ ซึ่ง Bart บอกว่าเค้าใช้ทั้งสองแบบ ขึ้นอยู่กับว่า ในตอนนั้นต้องการเล่นแบบไหนBart คิดว่าการไม่ยกส้นนั้นสามารถควบคุมเท้าได้ดีที่สุด ต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างมาก เมื่อใดที่ Bart ต้องการการเล่นที่เร็วขึ้น เค้าจะยกส้นเท้าขึ้นประมาณ 1 นิ้ว ซึ่งจะทำให้สามารถหมุนข้อเท้าไปมา และ สไสล์โดยใช้ปลายเท้า หรือบางครั้ง Bart จะสไลล์กระเดื่องแบบไปข้างหน้าและถอยหลัง หรือสไลด์ในแนวด้านข้าง แต่ต้องควบคุมให้เท้าอยู่บนกระเดื่องเสมอ Bart คิดว่าเทคนิคการใช้เท้าเหมือนกับเทคนิคการใช้มือเทคนิคการใช้มือ คุณต้องใช้มือทั้งสองข้าง ข้อมือ หรือนิ้ว ทั้งสามอย่างนี้ผสมผสานกัน ซึ่งมันขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการเล่นแนวไหน ถ้าต้องการเล่นเบาและTempo ที่เร็ว Bart จะใช้นิ้วมากขึ้น ถ้าต้องการเล่นที่ดังหนักแน่นเค้าจะใช้แขนมากขึ้นด้วยการยกไม้ให้สูงขึ้น ไม่จำเป็นที่จะต้องตีให้แรงขึ้นเทคนิคดังกล่าวเหมือนกันกับการใช้เท้า ถ้าเล่นแบบยกส้นโดยใช้ข้อเท้าสไลด์ไปมาเทียบกับการยกส้นโดยใช้เท้าเหยียบทั้งขา Bart บอกว่าถ้าเค้าต้องการเล่นที่เร็วขึ้น เค้าจะยกส้นและสไลด์หมุนข้อเท้าไปมา แต่ถ้าต้องการเล่นที่เร็วและดัง เค้าจะยกส้นขึ้นและใช้น้ำหนักของเท้าทิ้งลงตามแรงดึงดูดของโลกเพื่อยันกระเดื่องBart สอนนักเรียนของเค้าว่าต้องควบคุมให้กระเดื่องเด้งกลับมาหลังจากกระแทกหนังแล้วเสมอ ซึ่งจะทำให้เกิดเสียงที่เต็มมากกว่า และจะช่วยทำให้หัวกระเดื่องกลับมาหยุดอยู่ในจุดที่พร้อมจะตีครั้งต่อไป ยกตัวอย่างเช่น การต่อสู้เมื่อคุณต่อยคู่ต่อสู้แล้วคุณต้องดึงมือกลับมาในตำแหน่งที่พร้อมจะต่อยครั้งต่อไป เช่นเดียวกันกับมือที่ตีกลอง เมื่อตีแล้วมือสะท้อนกลับมา เสียงที่ได้จะเต็มที่กว่าและน่าพอใจ แทนที่จะตีแล้วกดค้างไว้กลับหนัง เสียงที่ได้จะไม่เคลียร์ แต่บางครั้งคุณอาจอยากได้เสียงแบบกระแทกๆ คุณก็จะต้องปล่อยให้หัวกระเดื่องค้างอยู่ที่หนัง สรุปแล้วขึ้นอยู่กับว่าต้องการเสียงแบบไหน Bart บอกว่าเค้าต้องคุมเท้าให้ได้ตามที่ต้องการ ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นไปตามที่ความเคยชิน ซึ่งควบคุมไม่ได้ สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ในการเหยียบกระเดื่องคือต้องมีความต่อเนื่อง ต้องได้เสียงที่ชัดเจน และต้องพัฒนาเทคนิคการเหยียบทั้งสองแบบ และต้องสามารถทราบความแตกต่างถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละแบบส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการเหยียบกระเดื่อง คือการปรับสปริงกระเดื่อง Bart บอกว่ามือกลองทุกคนนั้นมีสรีระที่ต่างกัน น้ำหนักไม่เท่ากัน ดังนั้นการตั้งสปริงที่เหมาะสมกับคุณคือ เมื่อคุณวางเท้าลงบนกระเดื่องโดยไม่กด หัวกระเดื่องต้องกดลงมาครึ่งทางระหว่างตำแหน่งที่ค้างอยู่กับหนัง แต่ถ้าวางเท้าลงแล้วหัวกระเดื่องสัมผัสกับหนังเลย หรือห่างเล็กน้อยประมาณ 1 นิ้ว นั้นแปลว่าสปริงอ่อนเกินไป ตรงกันข้ามถ้าวางเท้าแล้วหัวกระเดื่องแทบจะไม่ขยับเลย อย่างนี้คือแข็งเกินไปครับ ต้องปรับใหม่ Bart มองว่าหัวกระเดื่องจะต้องเคลื่อนไหวอย่างอิสระที่สุดแต่ไม่มากจนเกินไปที่สำคัญคืออย่าเกร็ง และไม่ควรใช้พลังงานมากเกินไปเพราะจะทำให้เหนื่อย และตีกลองได้ไม่นาน Bart พูดปิดท้ายว่าที่พูดไปเป็นแค่ มุมมองของเค้าคุณควรฟัง / สังเกตุ มือกลองคนชั้นนำอื่น พิจารณาถึงสิ่งที่ดีและไม่ดีของเค้า แล้วCopy สิ่งดีๆมาใช้เป็นเทคนิคของตน และอย่าเกร็งค๊ะ การเพิ่มความเร็วให้เท้าคุณ มือกลองหลายคนมักมีไม่ค่อยพอใจในเรื่องการใช้เท้าของตน ปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นการขาดความเร็วในการเหยียบ ปัญหารองลงไปได้แก่ขาสั่นไม่ค่อยมีกำลัง ลองอ่านดูเทคนิคและเคล็ดลับดังนี้ มีสองเหตุผลหลักคือคุณให้เวลาในการฝึกเท้าน้อยเกินไปและ การฝึกฝนที่ไม่มีประสิทธิภาพ ตรงนีผู้เขียนแนะนำหนังสือที่ควรหามาอ่านเพื่อเพิ่มความรู้ได้แก่หนังสือชื่อ Stick Control โดย George L.Stone ที่นี้ลองมาดูการฝึกในเบื้องต้นก่อนดังนี้ Single Stroke Roll เมื่อพูดถึงเรื่องนี้เพื่อนมือกลองทุกท่านคงต้องเคยฝึกด้วยการใช้มือมาแล้วทุกคน ตอนนี้คุณต้องหันมาใช้เท้าฝึกแล้วละ คุณอย่าคิดว่า Single Stroke จะมีประโยชน์แค่สำหรับมือกลอง 2 กระเดื่องเท้านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อมือกลองกระเดื่องเดียว ที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อเท้าและขาแข็งแรง เพิ่มการตอบสนองต่อการสั่งงานได้ดีขึ้น ช่วยการตีเน้นBass Drum ในสำเนียงเพลง Funky หรือการทำเสียงโครมครามของHihat และยังช่วยให้คุณเล่นเพลงที่ต้องใช้เท้าซ้ายเหยียบ Hihat ในบางจังหวะลองดูตรงนี้แนวทางที่จะช่วยให้คุณฝึก Single Stroke ในเท้าของคุณ

1. ตั้งเมโทรนอมที่ความเร็วประมาณ100 bpm

2. ตี Single Stroke ด้วยมือ R L R L R L R L หนึ่งห้อง จากนั้นในห้องที่สองเปลี่ยนเป็นใช้เท้า ฝึกซ้ำไปมา จนคุณรู้สึกว่าเท้าของคุณรู้สึกสบายๆไม่เกร็ง ถ้าเท้าของคุณเคลื่อนไหวไม่ถูกส่วน จะทำให้เมื่อยล้าและเคลื่อนไหวไม่ถูจังหวะ ถ้าเป็นเช่นนี้ ต้องลดความเร็วของTempo ลง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และจะไม่ทำให้เมื่อยล้า สำหรับความเร็วมากๆคุณต้องฝึกใช้เท้าด้วยวิธีเดียวกับการฝึกมือ คาถาง่ายๆที่อยากแนะนำคือ อย่างเกร็ง

3. ลองปรับความเร็วของ metronome ขึ้นจนถึง 160 BMP แล้วสามารถเล่นได้อย่างสบายๆ ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลา หลายวันหรือเป็นอาทิตย์ ก็ต้องฝึกนะครับอย่าเร่งรีบเกินไป

4. ลองเพิ่มตี Single Stroke ด้วยมือ R L R L R L R L สองห้องจากนั้นในห้องที่สามและสี่เปลี่ยนเป็นใช้เท้า แล้วกลับไปเริ่มที่มือใหม่ เช่นเดียวกันคือค่อยๆปรับความเร็วไปจนถึง160 BMP และใช้เวลาฝึกประมาณ ครึ่งชั่วโมง ใช้เวลาช่วงดูTV จะช่วยให้คุณฝึกได้ไม่เบื่อ และไม่จดจ่ออยู่กับเวลาที่ต้องฝึก กล้ามเนื้อคุณจะแข็งแรงขึ้น

5. พึงตระหนักไวว่า เราไม่ได้ฝึกเพื่อทำให้เร็วเล่นได้เร็วขึ้น แต่เป็นการฝึกเพื่อทำให้กล้ามเนื้อเราแข็งแรง ความเร็วนั้นไม่มีประโยชน์ ถ้าปราศจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การฝึกที่ถือว่าบรรลุเป้าหมายนั้นคือ คุณฝึกแบบฝึกข้างบนนั้นจนสามารถเล่นมันได้อย่างสบายๆ ในความเร็วที่มากสุดในเมทรอนอมนั้น ในระยะเวลาประมาณ หนึ่งชั่วโมง ขอบอกเคล็ดอีกครั้งคือคุณต้องไม่เกร็ง ผ่อนคลายอาจเป็นช่วงที่คุณดูTV สนุกเพลินๆอยู่ นอกจากนั้นความเร็วที่ว่าสูงสุดในเมทรอนอมนั้นอาจผันแปรไปตามที่เท้าและขาของคุณสามารถทำงานได้ดี ในเบื้องต้นนี้ผู้เขียนยากกำหนดเป้าหมายระยะสั้นว่าคุณควรเล่นได้ในความเร็ว 208 BMP ผู้เขียนย้ำส่งท้ายว่าไม่ต้องการให้คุณเป็นมือกลองที่ชนะเลิศในด้านการตีกลองที่เร็วสุด แต่มันจะเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมมากถ้าในการสร้างความเร็วของคุณนั้นมันเป็นไปพร้อมกับความแข็งแรงและแข็งแกร่งในขาเท้าและขาของคุณ

การเลือกสายเบส




www.siambass.com




สายกีตาร์เบสนั้น (เท่าที่รู้กันมา) มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบคือ
1. แบบที่มีเปลือกหุ้มเป็นเส้นกลม (Round wound) ส่วนมากมักจะใช้กับเครื่องดนตรีแอ็คคูติค คือให้เสียงธรรมชาติของมันเองโดยไม่ต้องพึ่งเครื่องขยายเสียง สายแบบนี้จะให้ความรู้สึกตึงนิ้วและคอกีตาร์มาก แต่ให้เสียงสะอาดและแหลมคม
2. แบบที่มีเปลือกหุ้มแบนเรียบ (Flat wound) แบบนี้จะมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าแบบแรกจะให้เสียงที่ทุ้มแต่เล่นสบายมือกว่า
3. แบบผสม (Half wound) ลักษณะคล้ายกับการเอาสองแบบแรกมาผสมกัน คือทำให้ผิวด้านนอกของแบบเส้นกลมเรียบ เพื่อลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
เวลาเปลี่ยนสายกีตาร์เบสนั้นควรเปลี่ยนพร้อมกันทั้งชุด เพราะสายที่อายุการใช้งานเท่าๆกันจะให้เสียงที่กลมกลืนกันมากกว่า โดยทั่วไปแล้วสายเบสจะมีขนาดมาตรฐานอยู่ 3 ขนาดด้วยกันคือ ชุดบาง (light guage) ชุดกลางหรือชุดมาตรฐาน (medium guage หรือ standard guage) และชุดหนา (heavy guage) สายที่มีขนาดโตจะมีความตึงมากทำให้เล่นลำบาก แต่ให้เสียงที่ดีกว่า สำหรับเพื่อนๆที่เริ่มฝึกหัดขอแนะนำให้ใช้ชุดกลางก่อน (แล้วค่อยลองเปลี่ยนไปใช้แบบอื่นทีหลัง) การใส่สายใหม่นั้น ให้ตัดส่วนที่เกินลูกบิดออกไปด้วยคีมโดยเหลือปลายสายไว้ประมาณ 10 ซมก็พอ และที่สำคัญเวลาขึ้นสายจนตึงแล้ว จะต้องให้สายรอบสุดท้าย อยู่ตรงส่วนที่ต่ำที่สุดของลูกบิด