วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ซออู้




www.smusichome.com






ซออู้ เป็นซอสองสาย ตัวกะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว โดยตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่ง และใช้หนังลูกวัวขึงขึ้นหน้าซอ กว้างประมาณ 13 – 14 ซม เจาะกะโหลกให้ทะลุตรงกลาง เพื่อใส่คันทวนที่ทำด้วยไม้จริง ผ่านกะโหลกลงไป ออกทะลุรูตอนล่างใกล้กะโหลก คันทวนซออู้นี้ ยาวประมาณ 79 ซม ใช้สายซอสองสายผูกปลายทวนใต้กะโหลก แล้วพาดผ่านหน้าซอ ขึ้นไปผูกไว้กับ ลูกบิดสองอัน ลูกบิดซออู้นี้ยาวประมาณ 17 –18 ซม โดยเจาะรูคันทวนด้านบน แล้วสอดลูกบิดให้ทะลุผ่านคันทวนออกมา และใช้เชือกผูกรั้งกับทวนตรงกลางเป็นรัดอก เพื่อให้สายซอตึง และสำหรับเป็นที่กดสายใต้รัดอกเวลาสี ส่วนคันสีของซออู้นั้นทำด้วย ไม้จริงยาวประมาณ 70 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 160 - 200 เส้น ตรงหน้าซอใช้ผ้าม้วนกลมๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นหมอนหนุน สายให้พ้นหน้าซอ ด้านหลังของกะโหลกซอ แกะสลักเป็นรูปลวดลายสวยงาม และเป็นช่องทางให้เสียงออกด้านนี้ด้วย
ซออู้มีรูปร่างคล้ายๆกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู – ฮู้ ( Hu-hu ) เหตุที่เรียกว่าซออู้ก็เพราะ เรียกตามเสียงที่ได้ยินนั่นเอง ซอด้วงและซออู้ ได้เข้ามามีบทบาทในวงดนตรีเครื่องสายตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 4 นี่เอง โดยได้ดัดแปลงมาจาก วงกลองแขกเครื่องใหญ่ ซึ่งมีเครื่องดนตรีที่ทำลำนำประกอบด้วย ซอด้วง ซออู้ จะเข้ และ ปี่อ้อ ต่อมาได้เอากลองแขก ปี่อ้อ ออก และเอา ทับกับรำมะนา และขลุ่ยเข้ามาแทน เรียกวงดนตรีชนิดนี้ว่า วงมโหรีเครื่องสาย มีคนเล่นทั้งหมด 6 คน รวมทั้ง ฉิ่งด้วย

ฉิ่ง




ฉิ่งเป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทตี ทำด้วยทองเหลือง หล่อหนา ปากผายกลม 1 ชุด มี 2 ฝา ฉิ่งมี 2 ชนิดคือ ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์ และ ฉิ่งที่ใช้สำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรี ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์มีขนาดที่วัดฝ่านศูนย์กลาง จากขอบข้างหนึ่งไปสุดขอบอีกข้างหนึ่ง กว้างประมาณ 6 – 6.5 ซม เจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก เพื่อให้จับสะดวกขณะตี ส่วนฉิ่งสำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรีนั้น มีขนาดเล็กกว่า วัดผ่านศูนย์กลางได้ขนาดประมาณ 5.5 ซม
เนื่องจากการตีฉิ่ง ต้องเอาขอบของฝาข้างหนึ่งกระทบกับอีกฝากหนึ่ง แล้วยกขึ้น ก็จะมีเสียงดังกังวานยาวดัง ฉิ่ง แต่ถ้าเอาทั้ง 2 ฝานั้นกระทบและประกบกันไว้ จะได้ยินเสียงดังสั้นๆดัง ฉับ ดังนั้นการเรียกชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า ฉิ่ง ก็เพราะเรียกตามเสียงที่เกิดขึ้นนั่นเอง

ระนาดเอก




ระนาดเอกเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลาย ๆ อันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่าง ๆ กันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมาติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า ลูกระนาด เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า ผืน
ลูกระนาดนี้ทำด้วย ไม้ชิงชัน หรือไม้แก่น เช่น ไม้ไผ่บง ไม้มะหาด ไม้พะยุงก็ได้ โดยนำมาเหลาให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วทำรางเพื่ออุ้มเสียงเป็นรูปคล้ายลำเรือ ให้หัวและท้ายโค้งขึ้น เรียกว่า รางระนาด แผ่นไม้ที่ปิดหัวท้ายรางระนาดเราเรียกว่า โขน ระนาดเอกในปัจจุบันมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้นมีขนาด 39 ซม กว้างราว 5 ซม และหนา 1.5 ซม มีขนาดลดหลั่นลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอดที่มีขนาด 29 ซม เมื่อนำผืนระนาด มาแขวนบนรางแล้ว หากวัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งไปยังโขนหัวรางอีกข้างหนึ่ง จะมีความยาวประมาณ 120 ซม มีเท้ารองรางเป็นเท้าเดี่ยว รูปคล้ายกับพานแว่นฟ้า
ระนาดเอกใช้ในวงปี่พาทย์และวงมโหรี โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำ

ทรัมเป็ท



www.sahavicha.com

ทรัมเป็ต (trumpet) เป็นเครื่องดนตรีสากลในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง(แตร) ประเภทเสียงสูง (high brass) เช่นเดียวกับเฟรนช์ฮอร์น กำเนิดเสียงโดยอาศัยลมจากการเป่าของผู้เล่นทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของริมฝีปาก โดยทั่วไปมีปุ่มกด (valve) 3 อัน เรียงอยู่ในระนาบเดียวกัน มีทั้งที่เคลือบผิวด้วยทอง, เงิน, นิกเกิล, และแลกเกอร์

ทรัมเป็ตมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเริ่มจากแตรสัญญาณที่ใช้ในการล่าสัตว์หรือในทางทหาร แต่แตรลักษณะนั้นโดยมากจะไม่มีปุ่มกดเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง ทำให้ไม่สามารถสร้างระดับเสียงที่แตกต่างกันได้มากนัก จนกระทั่งมีการคิดประดิษฐ์ปุ่มกดและกลไกต่างๆเข้าไปภายหลังในสมัยยุคกลาง โดยเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง สามารถพบเห็นได้ในวงหลากหลายรูปแบบตั้งแต่วงพื้นบ้านของเม็กซิกัน(Mariachi) วงแจ๊ซ วงโยธวาทิต จนถึง
วงออเคสตราขนาดใหญ่ หรือแม้แต่วงดนตรีป๊อป-ร็อคสมัยใหม่

ระดับเสียงของทรัมเป็ตมีช่วงเสียงประมาณ 2-3 ออกเตฟ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น ตั้งแต่ F# ต่ำกว่า middle C จนถึง E สูงเหนือบรรทัด 5 เส้นหรือสูงกว่านั้น เสียงของทรัมเป็ตโดยธรรมชาติมีลักษณะดังกังวาน สดใส และเข้มแข็ง แต่ขณะเดียวกันก็สามารถใช้สร้างเสียงที่แสดงออกถึงอารมณ์หม่นเศร้าได้เช่นกัน ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือทรัมเป็ตในคีย์ Bb และคีย์ C อาจพบเห็นทรัมเป็ตที่มีขนาดและระดับเสียงแตกต่างกันได้อีกหลายชนิดตั้งแต่ "เบส-ทรัมเป็ต" จนถึง "พิคโคโลทรัมเป็ต" โดยเฉพาะในบทเพลงคลาสสิค
ทรัมเป็ท คือ เครื่องดนตรีที่จัดอยู่ในประเภทเครื่องลมทองเหลืองกำพวดสำหรับเป่ามีลักษณะเป็นท่อโลหะบานตรงปลาย คล้ายรูปถ้วย ท่อลมทรัมเป็ทด้านปลายท่อ บานออกเป็นลำโพง เพื่อขยายเสียงให้ดัง ทรัมเป็ทมีลูกสูบ 3ลูกสูบสำหรับเปลี่ยนความสั้นยาวของท่อลม เพื่อเปลี่ยนระดับเสียงดนตรีที่เกิดขึ้น บางครั้งกดเดียง 1 นิ้ว บางครั้ง 2 นิ้ว หรือ 3 นิ้วพร้อมกันเป่าโดยเม้มริมฝีปาก แล้วทำให้ริมฝีปากสั่นสะเทือนในกำพวด เสียงของทรัมเป็ทเป็นเสียงที่มีพังและดังเจิดจ้า ในบทเพลงต่าง ๆ มักใช้เสียงทรัมเป็ทบรรยายลักษณะของความกล้าหาญ การรบพุ่ง หรือความสง่างามในพิธีสำคัญต่าง ๆ
ทรัมเป็ทมีพัฒนาการมานาน มีรูปทรงต่าง ๆ กันออกไป เครื่องดนตรีที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการของทรัมเป็ท คือ Serpent และ Kent Bugle ในยุคกลางทรัมเป็ทจะถูกนำมาใช้ในกิจการของทหารเท่านั้น เป่าเพื่อส่งสัญญาณต่าง ๆ ในยุคต่อมาทรัมเป็ทได้นำมาใช้ในวงออร์เคสตร้า โดยเฉพาะในบรรยากาศของการแสดงเสียงอึกทึกเสียงดังหรือการประโคม
บุคคลที่ถือว่าเป็นผู้ออกแบบทรัมเป็ทที่สำคัญคือ Johann Hass(1649 – 1723) เป็นชาวเยอรมัน ทรัมเป็ทในปัจจุบันจะอยู่ในระดับเสียง บีแฟล็ต เครื่องดนตรีที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับ ทรัมเป็ทมีหลายชนิด เช่น ทรอมโบน ฮอร์น คอร์เน็ท ทูบา ยูโฟเนียม ซูซาโฟน ฟลูเกิลฮอร์น

เทคนิคการเล่นกีต้าร์

www.nartube.com





การเล่นกีต้าร์โดยทั่วไปนั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ

1. เล่นแบบดีดทีละสาย ผู่เล่นจะต้องจำจุดต่างๆ ให้ได้ว่าเป็นเสียงอะไร ในการกดลงไปตามจุดต่างๆ ของคอร์ดกีต้าร์ต้องกดให้แน่นๆนะครับ ถ้ากดไม่แน่นเสียงจะบอด (เสียงไม่กังวาล) การฝึกหัดควรฝึกหัดตามโน็ต ตาไม่ต้องดูนิ้ว ในระยะแรกอาจจะดูบ้างไม่เป็นไรครับ การดีดทีละสายนี้สามารถทำให้เสียงที่ดีดออกมาแปลกไปจากเดิมได้ เมื่อเวลาที่จะเปลี่ยนไปติดตามโน็ตอีกตัวนึง คือ "การเล่นแบบรูดนิ้ว" การเล่นแบบรูดนิ้วนั้น ผู้เล่นจะต้องกดจุดแรกให้แน่นก่อนแล้วรูดนิ้วจากจุดแรกที่กดอยู่ไปยังจุดที่เกิดเป็นเสียงตามต้องการ (รูดสายเดิม) เช่น จาก โดในสายที่ 4 รูดนิ้วไปยังฟาในสายเดียวกัน การเล่นแบบนี้ผู่เล่นจะต้องจำให้ได้ว่าสายนั้นตามช่องต่างๆ มีเสียงอะไรบ้าง การเล่นแบบรูดนิ้วทำให้เกิดความไพเราะขึ้นกว่าการเปลี่ยนจุดตามธรรมดา ถ้าต้องการให้เสียงสั่นพริ้ว เมื่อดีดแล้วต้องเขย่าตัวกีต้าร์
2. เล่นแบบดีดหลายสายพร้อมกัน วิธีนี้ คือ การดีดเป็นคอร์ดนั่นเอง การฝึกหัดดีดเป็นคอร์ดครั้งแรกควรจะดีดช้าๆ ก่อน เมื่อกดจุดต่างๆ ที่จะทำให้เกิดกลุ่มเสียงแล้วดีดไล่ลงไปทีละเส้น วิธีนี้เรียกว่า Broken Chord การเล่นแบบนี้จะทำให้ผู้เล่นรู้ว่าเสียงใดบอดบ้าง ในการเปลี่ยนคอร์ดหนึ่งไปยังอีกคอร์ดหนึ่ง นิยมเปลี่ยนโดยการเลื่อนนิ้วเพราะจะทำให้เสียงไม่ขาดหายไป แต่มีการเปลี่ยนคอร์ดบางคอร์ดต้องยกนิ้วออกจากจุดเดิมทั้งหมด เพราะคอร์ดที่ต้องการอยู่ไกลจากตำแหน่งของคอร์ดเดิมมาก

เทคนิคการเหยียบกระเดื่อง




เทคนิคการใช้เท้า Bart บอกว่าเท้าของคุณต้องติดอยู่กับกระเดื่องเสมอ ไม่ว่าคุณจะเหยียบกระเดื่องแบบยกส้นหรือแบบไม่ยกส้น โดยเทคนิดพื้นฐานทั่วไป ปลายเท้าของคุณต้องอยู่บนกระเดื่องถ้าไม่เช่นนั้นหัวกระเดื่องจะไม่อยู่นิ่ง ทำให้คุณไม่สามารถบังคับหัวกระเดื่องได้ และไม่สามารถเล่นกลองได้อย่างมีDynamic การที่เท้าไม่อยู่บนกระเดื่องตลอดเวลาอาจทำให้มีเสียงดังอื่นรบกวนได้ ซึ่งรวมถึงเท้าที่อยู่บนHi-Hat ด้วย มีมือกลองจำนวนมากตีกลองแบบยกส้นเท้า ขณะที่บางคนก็ไม่ยก( ซึ่งเหยียบได้เร็วมาก) ทั้งสองแบบนั้นดีทั้งคู่ ซึ่ง Bart บอกว่าเค้าใช้ทั้งสองแบบ ขึ้นอยู่กับว่า ในตอนนั้นต้องการเล่นแบบไหนBart คิดว่าการไม่ยกส้นนั้นสามารถควบคุมเท้าได้ดีที่สุด ต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างมาก เมื่อใดที่ Bart ต้องการการเล่นที่เร็วขึ้น เค้าจะยกส้นเท้าขึ้นประมาณ 1 นิ้ว ซึ่งจะทำให้สามารถหมุนข้อเท้าไปมา และ สไสล์โดยใช้ปลายเท้า หรือบางครั้ง Bart จะสไลล์กระเดื่องแบบไปข้างหน้าและถอยหลัง หรือสไลด์ในแนวด้านข้าง แต่ต้องควบคุมให้เท้าอยู่บนกระเดื่องเสมอ Bart คิดว่าเทคนิคการใช้เท้าเหมือนกับเทคนิคการใช้มือเทคนิคการใช้มือ คุณต้องใช้มือทั้งสองข้าง ข้อมือ หรือนิ้ว ทั้งสามอย่างนี้ผสมผสานกัน ซึ่งมันขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการเล่นแนวไหน ถ้าต้องการเล่นเบาและTempo ที่เร็ว Bart จะใช้นิ้วมากขึ้น ถ้าต้องการเล่นที่ดังหนักแน่นเค้าจะใช้แขนมากขึ้นด้วยการยกไม้ให้สูงขึ้น ไม่จำเป็นที่จะต้องตีให้แรงขึ้นเทคนิคดังกล่าวเหมือนกันกับการใช้เท้า ถ้าเล่นแบบยกส้นโดยใช้ข้อเท้าสไลด์ไปมาเทียบกับการยกส้นโดยใช้เท้าเหยียบทั้งขา Bart บอกว่าถ้าเค้าต้องการเล่นที่เร็วขึ้น เค้าจะยกส้นและสไลด์หมุนข้อเท้าไปมา แต่ถ้าต้องการเล่นที่เร็วและดัง เค้าจะยกส้นขึ้นและใช้น้ำหนักของเท้าทิ้งลงตามแรงดึงดูดของโลกเพื่อยันกระเดื่องBart สอนนักเรียนของเค้าว่าต้องควบคุมให้กระเดื่องเด้งกลับมาหลังจากกระแทกหนังแล้วเสมอ ซึ่งจะทำให้เกิดเสียงที่เต็มมากกว่า และจะช่วยทำให้หัวกระเดื่องกลับมาหยุดอยู่ในจุดที่พร้อมจะตีครั้งต่อไป ยกตัวอย่างเช่น การต่อสู้เมื่อคุณต่อยคู่ต่อสู้แล้วคุณต้องดึงมือกลับมาในตำแหน่งที่พร้อมจะต่อยครั้งต่อไป เช่นเดียวกันกับมือที่ตีกลอง เมื่อตีแล้วมือสะท้อนกลับมา เสียงที่ได้จะเต็มที่กว่าและน่าพอใจ แทนที่จะตีแล้วกดค้างไว้กลับหนัง เสียงที่ได้จะไม่เคลียร์ แต่บางครั้งคุณอาจอยากได้เสียงแบบกระแทกๆ คุณก็จะต้องปล่อยให้หัวกระเดื่องค้างอยู่ที่หนัง สรุปแล้วขึ้นอยู่กับว่าต้องการเสียงแบบไหน Bart บอกว่าเค้าต้องคุมเท้าให้ได้ตามที่ต้องการ ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นไปตามที่ความเคยชิน ซึ่งควบคุมไม่ได้ สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ในการเหยียบกระเดื่องคือต้องมีความต่อเนื่อง ต้องได้เสียงที่ชัดเจน และต้องพัฒนาเทคนิคการเหยียบทั้งสองแบบ และต้องสามารถทราบความแตกต่างถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละแบบส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการเหยียบกระเดื่อง คือการปรับสปริงกระเดื่อง Bart บอกว่ามือกลองทุกคนนั้นมีสรีระที่ต่างกัน น้ำหนักไม่เท่ากัน ดังนั้นการตั้งสปริงที่เหมาะสมกับคุณคือ เมื่อคุณวางเท้าลงบนกระเดื่องโดยไม่กด หัวกระเดื่องต้องกดลงมาครึ่งทางระหว่างตำแหน่งที่ค้างอยู่กับหนัง แต่ถ้าวางเท้าลงแล้วหัวกระเดื่องสัมผัสกับหนังเลย หรือห่างเล็กน้อยประมาณ 1 นิ้ว นั้นแปลว่าสปริงอ่อนเกินไป ตรงกันข้ามถ้าวางเท้าแล้วหัวกระเดื่องแทบจะไม่ขยับเลย อย่างนี้คือแข็งเกินไปครับ ต้องปรับใหม่ Bart มองว่าหัวกระเดื่องจะต้องเคลื่อนไหวอย่างอิสระที่สุดแต่ไม่มากจนเกินไปที่สำคัญคืออย่าเกร็ง และไม่ควรใช้พลังงานมากเกินไปเพราะจะทำให้เหนื่อย และตีกลองได้ไม่นาน Bart พูดปิดท้ายว่าที่พูดไปเป็นแค่ มุมมองของเค้าคุณควรฟัง / สังเกตุ มือกลองคนชั้นนำอื่น พิจารณาถึงสิ่งที่ดีและไม่ดีของเค้า แล้วCopy สิ่งดีๆมาใช้เป็นเทคนิคของตน และอย่าเกร็งค๊ะ การเพิ่มความเร็วให้เท้าคุณ มือกลองหลายคนมักมีไม่ค่อยพอใจในเรื่องการใช้เท้าของตน ปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นการขาดความเร็วในการเหยียบ ปัญหารองลงไปได้แก่ขาสั่นไม่ค่อยมีกำลัง ลองอ่านดูเทคนิคและเคล็ดลับดังนี้ มีสองเหตุผลหลักคือคุณให้เวลาในการฝึกเท้าน้อยเกินไปและ การฝึกฝนที่ไม่มีประสิทธิภาพ ตรงนีผู้เขียนแนะนำหนังสือที่ควรหามาอ่านเพื่อเพิ่มความรู้ได้แก่หนังสือชื่อ Stick Control โดย George L.Stone ที่นี้ลองมาดูการฝึกในเบื้องต้นก่อนดังนี้ Single Stroke Roll เมื่อพูดถึงเรื่องนี้เพื่อนมือกลองทุกท่านคงต้องเคยฝึกด้วยการใช้มือมาแล้วทุกคน ตอนนี้คุณต้องหันมาใช้เท้าฝึกแล้วละ คุณอย่าคิดว่า Single Stroke จะมีประโยชน์แค่สำหรับมือกลอง 2 กระเดื่องเท้านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อมือกลองกระเดื่องเดียว ที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อเท้าและขาแข็งแรง เพิ่มการตอบสนองต่อการสั่งงานได้ดีขึ้น ช่วยการตีเน้นBass Drum ในสำเนียงเพลง Funky หรือการทำเสียงโครมครามของHihat และยังช่วยให้คุณเล่นเพลงที่ต้องใช้เท้าซ้ายเหยียบ Hihat ในบางจังหวะลองดูตรงนี้แนวทางที่จะช่วยให้คุณฝึก Single Stroke ในเท้าของคุณ

1. ตั้งเมโทรนอมที่ความเร็วประมาณ100 bpm

2. ตี Single Stroke ด้วยมือ R L R L R L R L หนึ่งห้อง จากนั้นในห้องที่สองเปลี่ยนเป็นใช้เท้า ฝึกซ้ำไปมา จนคุณรู้สึกว่าเท้าของคุณรู้สึกสบายๆไม่เกร็ง ถ้าเท้าของคุณเคลื่อนไหวไม่ถูกส่วน จะทำให้เมื่อยล้าและเคลื่อนไหวไม่ถูจังหวะ ถ้าเป็นเช่นนี้ ต้องลดความเร็วของTempo ลง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และจะไม่ทำให้เมื่อยล้า สำหรับความเร็วมากๆคุณต้องฝึกใช้เท้าด้วยวิธีเดียวกับการฝึกมือ คาถาง่ายๆที่อยากแนะนำคือ อย่างเกร็ง

3. ลองปรับความเร็วของ metronome ขึ้นจนถึง 160 BMP แล้วสามารถเล่นได้อย่างสบายๆ ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลา หลายวันหรือเป็นอาทิตย์ ก็ต้องฝึกนะครับอย่าเร่งรีบเกินไป

4. ลองเพิ่มตี Single Stroke ด้วยมือ R L R L R L R L สองห้องจากนั้นในห้องที่สามและสี่เปลี่ยนเป็นใช้เท้า แล้วกลับไปเริ่มที่มือใหม่ เช่นเดียวกันคือค่อยๆปรับความเร็วไปจนถึง160 BMP และใช้เวลาฝึกประมาณ ครึ่งชั่วโมง ใช้เวลาช่วงดูTV จะช่วยให้คุณฝึกได้ไม่เบื่อ และไม่จดจ่ออยู่กับเวลาที่ต้องฝึก กล้ามเนื้อคุณจะแข็งแรงขึ้น

5. พึงตระหนักไวว่า เราไม่ได้ฝึกเพื่อทำให้เร็วเล่นได้เร็วขึ้น แต่เป็นการฝึกเพื่อทำให้กล้ามเนื้อเราแข็งแรง ความเร็วนั้นไม่มีประโยชน์ ถ้าปราศจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การฝึกที่ถือว่าบรรลุเป้าหมายนั้นคือ คุณฝึกแบบฝึกข้างบนนั้นจนสามารถเล่นมันได้อย่างสบายๆ ในความเร็วที่มากสุดในเมทรอนอมนั้น ในระยะเวลาประมาณ หนึ่งชั่วโมง ขอบอกเคล็ดอีกครั้งคือคุณต้องไม่เกร็ง ผ่อนคลายอาจเป็นช่วงที่คุณดูTV สนุกเพลินๆอยู่ นอกจากนั้นความเร็วที่ว่าสูงสุดในเมทรอนอมนั้นอาจผันแปรไปตามที่เท้าและขาของคุณสามารถทำงานได้ดี ในเบื้องต้นนี้ผู้เขียนยากกำหนดเป้าหมายระยะสั้นว่าคุณควรเล่นได้ในความเร็ว 208 BMP ผู้เขียนย้ำส่งท้ายว่าไม่ต้องการให้คุณเป็นมือกลองที่ชนะเลิศในด้านการตีกลองที่เร็วสุด แต่มันจะเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมมากถ้าในการสร้างความเร็วของคุณนั้นมันเป็นไปพร้อมกับความแข็งแรงและแข็งแกร่งในขาเท้าและขาของคุณ

การเลือกสายเบส




www.siambass.com




สายกีตาร์เบสนั้น (เท่าที่รู้กันมา) มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบคือ
1. แบบที่มีเปลือกหุ้มเป็นเส้นกลม (Round wound) ส่วนมากมักจะใช้กับเครื่องดนตรีแอ็คคูติค คือให้เสียงธรรมชาติของมันเองโดยไม่ต้องพึ่งเครื่องขยายเสียง สายแบบนี้จะให้ความรู้สึกตึงนิ้วและคอกีตาร์มาก แต่ให้เสียงสะอาดและแหลมคม
2. แบบที่มีเปลือกหุ้มแบนเรียบ (Flat wound) แบบนี้จะมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าแบบแรกจะให้เสียงที่ทุ้มแต่เล่นสบายมือกว่า
3. แบบผสม (Half wound) ลักษณะคล้ายกับการเอาสองแบบแรกมาผสมกัน คือทำให้ผิวด้านนอกของแบบเส้นกลมเรียบ เพื่อลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
เวลาเปลี่ยนสายกีตาร์เบสนั้นควรเปลี่ยนพร้อมกันทั้งชุด เพราะสายที่อายุการใช้งานเท่าๆกันจะให้เสียงที่กลมกลืนกันมากกว่า โดยทั่วไปแล้วสายเบสจะมีขนาดมาตรฐานอยู่ 3 ขนาดด้วยกันคือ ชุดบาง (light guage) ชุดกลางหรือชุดมาตรฐาน (medium guage หรือ standard guage) และชุดหนา (heavy guage) สายที่มีขนาดโตจะมีความตึงมากทำให้เล่นลำบาก แต่ให้เสียงที่ดีกว่า สำหรับเพื่อนๆที่เริ่มฝึกหัดขอแนะนำให้ใช้ชุดกลางก่อน (แล้วค่อยลองเปลี่ยนไปใช้แบบอื่นทีหลัง) การใส่สายใหม่นั้น ให้ตัดส่วนที่เกินลูกบิดออกไปด้วยคีมโดยเหลือปลายสายไว้ประมาณ 10 ซมก็พอ และที่สำคัญเวลาขึ้นสายจนตึงแล้ว จะต้องให้สายรอบสุดท้าย อยู่ตรงส่วนที่ต่ำที่สุดของลูกบิด

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ส่วนประกอบกีต้าร์

ส่วนลำตัวกีตาร์ ประกอบด้วย

ลำตัวกีตาร์ (body) หมายถึง 3 ส่วนได้แก่ ด้านหน้า(top) ควรทำมาจากไม้ อัลพาย สปรูซ (alpine spruce) ด้านหลัง (back) และด้านข้าง (side) ควรเป็นไม้โรสวูด(rosewood) และที่สำคัญคือลักษณะของไม้ต้องไม่มีรอยแตก ไม่มีตาไม้และมีลายไม้ที่ละเอียดไปตามความยาวจึงมีคุณภาพดี ส่วนที่เว้าของ body บางทีเราก็เรียกว่า เอว

การยึดโครงไม้ด้านใน(internal bracing) มีความสำคัญมากอีกเช่นกันเพราะไม้ที่ทำ body กีตาร์นั้นบางแต่ต้องรับแรงดึงที่สูงมาก ถ้าโครงยึดดังกล่าวไม่ดีหมายถึงกีตาร์คุณก็จะพังในเร็ววันแน่นอน รูปแบบการยึดจะแตกต่างกันตามเคล็ดลับของแต่ละผู้ผลิตและกีตาร์แต่ละรุ่นแต่ละประเภท โดยทั่วไปลักษณะเป็นรูปพัด (ในรูปเป็นตัวอย่างโครงยึดด้านในของกีตาร์คลาสสิก)ไม่รวมถึงกีตาร์ไฟฟ้าซึ่งเป็นทรงตัน หรือ solid body
โพรงเสียง (sound hole) ก็คือรูกลม ๆ หรือบางทีก็ไม่กลม ที่อยู่บนด้านหน้าของ body นั่นเอง มีหน้าที่รับเสียงจากการสั่นของสายกีตาร์ทำให้เกิดเสียงก้องดังขึ้น ซึ่งอาจจะมีีีลายประดับต่าง ๆ อยู่รอบ ๆ โพรงเสียงเพื่อความสวยงามอีก

สะพานสาย (bridge) เป็นตัวที่ยึดสายให้ติดกับ body มักทำมาจากไม้โรสวูดหรือไม้อีโบนี ถ้าเป็นกีตาร์คลาสสิกจะเจาะรูในแนวขนานกับ body กีตาร์ 6 รูไว้ใช้พันสายกีตาร์ แต่ถ้าเป็นกีตาร์โฟล์คจะเจาะรูในแนวตั้งฉากกับ body และยึดสายด้วย

หมุดยึดสาย(pin) แต่บางรุ่นเช่นของ Ovation ไม่ใช้หมุดแต่สอดสายจากด้านล่างของบริดจ์คล้าย ๆ กับกีตาร์คลาสสิกแต่ไม่ต้องพันสายเพราะสายโลหะจะมีหมุดล็อคอยู่ที่ปลายสาย สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าจะทำจากโลหะเป็นส่วนใหญ่มีทั้งแบบธรรมดาคือมีหน้าที่ยึดสายอย่างเดียว และอีกแบบคือเป็นแบบคันโยกทั้งแบบเดิมและแบบใหม่ที่เรียกกันติดปากว่าฟรอยโรส การใส่สายจะยุ่งขึ้นมาอีกเล็กน้อย
หย่อง (saddle) จะฝังหรือยึดอยู่กับสะพานสาย เพื่อรองรับสายกีตาร์ทั้ง 6 สาย มีทั้งแบบตรงสำหรับกีตารืคลาสสิก และแบบโค้งสำหรับกีตาร์โฟล์ค บางแบบก็แยกเป็น 2 ชิ้นแล้วแต่การออกแบบของแต่ละรุ่น บางรุ่นสามารถปรับความสูงของตัวมันได้ แต่ทั่ว ๆ ไปถ้าเรารู้สึกว่ามันสูงไปเราก็สามารถจะถอดมาแล้วใช้ตะไบหรือกระดาษทรายขัดที่ฐานของมันให้ความสูงลดลง แต่ถ้าต่ำไปก็หาเศษไม้หรือกระดาษมาเสริมให้สูงตามความพอใจ

ปิคอัฟ (pick up) โดยทั่วไปจะเห็นชัดบนกีตาร์ไฟฟ้ามากกว่าแต่ปัจจุบันกีตาร์โปร่งบางรุ่นก็มีการประกอบปิคอัฟไว้กับกีตาร์เลยเช่นประกอบไว้ที่ใต้บริดจ์หรือใต้หย่อง หรือเป็นปิคอัฟที่ซื้อมาประกอบต่างหากก็มี สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าจะมีความสำคัญมากเพราะมันจะรับแรงสั่นสะเทือนของสายไปแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าส่งไปยังแอมป์แล้วขยายเสียงต่อไปทำให้ัสามารถปรับแต่งเสียงได้มากมายหลายรูปแบบแล้วแต่คุณต้องการรายละเอียดดูในอุปกรณ์เสริมสำหรับกีตาร์ได้

ชุดคันโยก (tremolo bar) ถือว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของกีตาร์ไฟฟ้าเลยทีเดียวแบบเก่าที่เห็นใน fender stratocaster รุ่นเก่า ๆ ซึ่งจะกดลงได้อย่างเดียว หรือคันโยกแบบ Bigsby ซึ่งมักพบในกีตาร์แบบ archtop หรือ semi acoustic electric ซึ่งใช้เล่นเพลงแจ๊ส หรือคันทรีเป็นต้นและปัจจุบันวงการกีตาร์ไฟฟ้าก็ได้พัฒนาไปอีกระดับกับคันโยกที่เราเรียกกันตามชื่อผู้ผลิตคือฟลอยโรสหรือคันโยกอิสระนั่นเองซึ่งสามารถโยกขึ้นลงได้อย่างอิสระช่วยให้นักกีตารืสามารถสร้างสรรค์สำเนียงดนตรีในแบบใหม่ ๆ ได้ไม่สิ้นสุด

สวิทช์เปลี่ยนปิคอัฟ มักมีในกีตาร์ไฟฟ้าที่มีปิคอัฟหลาย ๆ ตัว เช่น 2 หรือ 3 ตัว ใช้ในการเปลี่ยนไปใช้ปิคอัฟตัวต่าง ๆ ซึ่งเสียงก็จะต่างกันไปด้วยเช่นต้องการเล่น rythym อาจใช้ตัวกลางหรือตัวบนเมื่อจะ lead ก็เปลี่ยนมาใช้ตัวล่างที่ติดกับบริดจ์เพราะให้เสียงที่แหลมกว่าเป็นต้น
ปุ่มควบคุ่มเสียง โดยทั่วไปจะมี 2 ชุด คือชุดควบคุมความดังเบา(volume control) และชุดควบคุมเสียงทุ้มเสียงแหลม(tone control)
ช่องเสียบสายแจ็คไปยังแอมป์ ใช้เสียบแจ็คเพื่อต่อสายไปยังแอมป์หรือผ่านเข้ายังชุดเอฟเฟ็คต่าง ๆ ของคุณ

ที่ใส่สายสะพายกีตาร์ ไว้ใส่สายสะพายกีตาร์เพื่อเวลาคุณยืนเล่น

ปิคการ์ด (pick guard) สำหรับกีตารคลาสสิกซึ่งมักไม่ใช่ปิคในการเล่นจึงไม่มีปิคการ์ด แต่กีตาร์โฟล์คมักใช้ปิคเล่นจึงมีปิคการ์ดไว้ป้องกันปิคขูดกับ body กีตาร์

ส่วนประกอบกลองชุด

กลองชุดประกอบด้วยกลองลักษณะต่างๆ หลายใบและฉาบหลายอันมารวมกันโดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว กลองชุดนี้ตามประวัติของดนตรีไม่ปรากฏว่าได้เข้าร่วมบรรเลงกับวงดนตรีดุริยางค์สากล ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ แต่ใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีแจ๊สและวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้นบรรเลงได้แก่วง คอมโบ้ วงสตริงคอมโบ้ ฯลฯ กลองที่ใช้ร่วมบรรเลงกับกลองชุดมีดังนี้

1. กลองใหญ่ (Bass Drum)
กลองใหญ่ มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับกลองใหญ่ที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์สากลแต่ขนาดแตกต่างกันคือ ขนาดกลองใหญ่ของกลองชุดมีขนาดที่นิยมใช้ทั่วไป คือ ขนาด 14 x 20 นิ้ว หรือ 14 x 22 นิ้ว มีอุปกรณ์เหมือนกันกับกลองใหญ่วงดุริยางค์ทุกประการ เวลาบรรเลงไม่ต้องใช้ขอหยั่งรองรับ เพราะมีขาหยั่งติดมากับตัวกลอง เพียงแต่ดึงขอหยั่งออกทั้งสองข้างจะทำให้กลองไม่เคลื่อนที่ เป็นการยึดตัวกลองใหญ่ให้ติดอยู่กับพื้นกลองใหญ่ไม่ใช้ไม้ถือสำหรับตี ใช้กระเดื่อง (Pedal) ติดแท่งเหล็กกลมๆ ปลายหุ้มด้วยสักหลาดความยาวประมาณ 10 นิ้ว สำหรับเท้าข้างขวาเหยียบลงไปบนกระเดื่อง ปลายกระเดื่องส่วนบนจะทำหน้าที่แทนมือ
2. กลองเล็ก (Snare Drum)
กลองเล็ก เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกลองชุดรูปร่างลักษณะกลองเล็กที่ใช้บรรเลงร่วมกับกลองชุด มีลักษณะเหมือนกลองเล็กที่ใช้บรรเลงวงดุริยางค์วงใหญ่ทุกประการ หรือเป็นกลองเล็กอย่างเดียวกัน สามารถนำไปใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีโดยทั่วไปได้กลองเล็กเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดในจำพวกเครื่องเคาะตีทั้งหลายเพราะการบรรเลงตามบทเพลงของกลองเล็กจะทำหน้าที่บรรเลงจังหวะที่ขัดกับกลองใหญ่ โดยกลองใหญ่จะบรรเลงตามจังหวะหนัก และเบา กลองเล็กจะบรรเลงจังหวะขืนหรือจังหวะขัด มีลักษณะเหมือนกับหยอกล้อกัน และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ฟังตื่นตัว มีอารมณ์ร่วมกับผู้บรรเลง เกือบจะทุกบทเพลงที่เปิดโอกาสให้กลองเล็กแสดงความสนุก คึกคัก และเป็นการเรียกร้องให้เครื่องดนตรีอื่นๆร่วมสนุกสนานด้วยนั่นคือ การบรรเลงกลองเล็กตอนปลายประโยคของบทเพลง ที่ภาษานักตีกลองเรียกว่า “ห้องส่ง” หรือ “บทส่ง” (Fill) ขนาดกลองเล็กที่นิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 x 14 นิ้ว
3. ฉาบ (Cymbals)
ฉาบ เป็นส่วนประกอบอีกชิ้นหนึ่งของกลองชุด รูปร่างลักษณะเหมือนกับฉาบที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์ โดยทั่วไปนิยมใช้ฉาบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20-30 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างขวามือ และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16-18 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างซ้ายมือ ฉาบทั้งสองใบนี้ไม่มีเชือกหนังสำหรับมือถือ แต่จะมีขาหยั่งรองรับทั้งสองใบ เวลาบรรเลงใช้มือขวาตีฉาบด้านขวามือเป็นหลัก เพราะมีเสียงก้องกังวานกว่า บางครั้งอาจสลับเปลี่ยนมาตีด้านซ้ายมือบ้างเป็นบางครั้ง
4. ไฮแฮท (Hi Hat)
ไฮแฮท คือ ฉาบสองใบเหมือนกับฉาบในวงดุริยางค์ แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปนิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 14-15 นิ้ว ฉาบทั้งสองใบนี้ไม่ใช้เชือกหนังร้อยสำหรับถือ เพราะมีขาตั้งรองรับ ใบที่หนึ่งใส่ลงบนขาตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านล่าง จะมีแผ่นโลหะและสักหลาดรองรับ อีกใบหนึ่งใส่ลงบนขอตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านบน มีที่ไขติดอยู่กับแกนของขาตั้ง โดยกะระยะให้ห่างกันพอประมาณ เพื่อไม่ให้ฉาบทั้งสองใบชิดติดกัน ช่วงล่างสุดมีกระเดื่องเหมือนกับกลองใหญ่สำหรับเหยียบให้ฉาบทั้งคู่กระทบกัน ไฮแฮทมีหน้าที่คอยขัดจังหวะหรือช่วยหนุนกลองเล็ก เน้นจังหวะขัดให้กระชับยิ่งขึ้น
5. ทอม ทอม (Tom Tom)
ทอม ทอม คือ กลองขนาดเล็กสองใบมีรูปร่างเหมือนกลองเล็ก แต่มีขนาดสูงกว่า ไม่ติดเส้นลวด ทอม ทอม ทั้งสองใบมีขนาดแตกต่างกัน ใบหนึ่งจะติดตั้งทางด้านซ้ายมือ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าอีกใบหนึ่ง ซึ่งติดตั้งด้านขวามือ โดยทั่วไปนิยมใช้ทอม ทอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 x 13 นิ้วและขนาด 14 x 14 นิ้ว ทั้งสองใบจะมีรูด้านข้างสำหรับใส่แกนโลหะเพื่อติดตั้งบนกลองใหญ่ ระดับเสียงทอม ทอม ด้านซ้ายมือมีระดับเสียงสูงกว่าด้านขวามือ ทอม ทอม มีหน้าที่สร้างความสนุกคึกคัก โดยจะบรรเลงในบทส่ง หรือการเดี่ยวกลอง (Solo) เพื่อสร้างความรู้สึก การกระตุ้นให้เพลิดเพลินกับจังหวะ บทเพลงที่ใช้ ทอม ทอม บรรเลงมากที่สุด คือ เพลงประเภทลาติน
6. ฟลอร์ทอม (Floor Tom)
ฟลอร์ทอม มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า “ทอมใหญ่” (Large Tom) รูปร่างลักษณะเหมือนกับ ทอม ทอม ไม่ติดเส้นลวด ขนาดของฟลอร์ทอม สูงกว่าทอม ทอม มีขาติดตั้งกับตัวฟลอร์ทอม เวลาบรรเลงตั้งอยู่ด้านขวามือชิดกับกลองใหญ่ เสียงฟลอร์ทอมต่ำกว่าเสียงทอม ทอม แต่เสียงสูงกว่าเสียงกลองใหญ่ ฟลอร์ทอม ทำหน้าที่อย่างเดียวกับ ทอม ทอม โดยทั่วไปนิยมใช้ ฟลอร์ทอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 x 16 นิ้ว